วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552






















อาคารชั่วคราว หลังที่ 2 อาคารหอศิลปวัฒนธรรมนิทัศน์(พระเทพรัตนกวีอุปถัมภ์)
แบบ ประชาชนสร้าง อาคารไม้ 2 ชั้น
ก่อสร้าง พ.ศ. 2541 โดยเงิน บริจาค จำนวน 2,000,000 บาท
วิธีการที่ได้มา คณะกรรมการสถานศึกษา ขอรับบริจาค ใช้เป็น อาคารเรียน วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ สภาพ ใช้การได้ดี
อาคารชั่วคราว หลังที่ 5 อาคารศูนย์พัฒนาสุขภาพและกีฬา
แบบ ประชาชนสร้าง ตึกคอนกรีต 1 ชั้น ฐานใต้เสาธงโรงเรียน
ก่อสร้าง พ.ศ. 2545 โดยเงิน บริจาค จำนวน 154,000 บาท
วิธีการที่ได้มา บริจาค ใช้เป็น ห้องพลศึกษา และเสาธงชาติ สภาพ ใช้การได้ดี
ด้านหน้า อาคารศูนย์พัฒนาสุขภาพและกีฬา
ด้านข้าง
ด้านหลัง เป็นเวทีเสาธงชาติ ใช้ประชุมแถวตอนเช้าก่อนเข้าเรียน

http://jkb.webhop.net/~kanya/
http://jkb.webhop.net/~kanya/
























ห้องเรียนสีขียว
อยู่ในอาคารโรงฝึกงาน
จัดทำขึ้น พ.ศ.2546 โดยเงิน สนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเงินบริจาค
วิธีการที่ได้มา ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้เป็น ห้องเรียนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสภาพ ใช้การได้








ห้องเรียนสองภาษา
อยู่ในอาคารเรียนหลังที่ 3 อาคารศรีธรรมไตร ชั้นล่าง และชั้นที่ 3 ห้องเรียนขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 8 เมตร
. ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดดำเนินการ
ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อปีการศึกษา 2546

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552












อาคารเรียนหลังที่ 1 อาคารพิษณุโลก
แบบ สปช.2/28 ตึกคอนกรีต 3 ชั้น 18 ห้องเรียน
ก่อสร้าง พ.ศ. 2513 โดยเงิน งบประมาณ จำนวน 2,834,000 บาท
วิธีการที่ได้มา งบประมาณ ใช้เป็น อาคารเรียน สภาพ ใช้การได้
แบบ กรมสามัญ ตึกคอนกรีต 3 ชั้น 22 ห้องเรียน
ก่อสร้าง พ.ศ. 2513 โดยเงิน งบประมาณ จำนวน 2,640,000 บาท
วิธีการที่ได้มา งบประมาณ ใช้เป็น อาคารเรียน สภาพ ใช้การได้
แบบ สปช. 2/28 ตึกคอนกรีต 3 ชั้น 12 ห้องเรียน
ก่อสร้าง พ.ศ. 2528 โดยเงิน งบประมาณ จำนวน 2,640,000 บาท
วิธีการที่ได้มา งบประมาณ ใช้เป็น อาคารเรียนห้องเรียนคอมพิวเตอร์ สภาพ ใช้การได้
http://jkb.webhop.net/~kanya/


















วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552









ถังประปา
แบบ - - - - - - - คอนกรีต 3 วง
ก่อสร้าง พ.ศ. 25- - โดยเงิน งบประมาณ จำนวน - - - - - - - -บาท
วิธีการที่ได้มา งบประมาณ ใช้เป็นถังเก็บและจ่ายน้ำประปาส่งให้โรงผลิตน้ำดื่ม สภาพ ใช้การได้ดี

โรงเรียนจ่าการบุญ





อดีตของสถานศึกษา 104 ปี

โรงเรียนจ่าการบุญปัจจุบัน เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำการจัดการเรียนรู้ระหว่างช่วงชั้นที่ 1 และ ช่วงชั้นที่ 2 คือ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 และ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ตั้งอยู่เกือบกลางเมืองพิษณุโลก ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก มีจำนวนนักเรียนจัดอยู่ในประเภท สถานศึกษาขนาดใหญ่ มีประวัติของการก่อตั้งยาวนานมาตั้งแต่อดีต


รูปถ่ายทางอากาศแสดงบริเวณโรงเรียนเมื่อปีพุทธศักราช 2510

สถานที่ตั้งโรงเรียนจ่าการบุญนี้เดิมเป็นวัด ชื่อวัดราชคฤห์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดใหญ่ หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารและวัดนางพญา เป็นวัดรกร้างที่ไม่มีพระภิกษุและศาสนสถานใดใดหลงเหลืออยู่ ชาวบ้านใช้เป็นฌาปนสถานและสุสานฝังศพ ก่อนที่จะย้ายไปสร้างฌาปนสถานเทศบาลถาวร ซึ่งอยู่ข้างทางรถไฟ ( โรงเรียนพุทธชินราชในปัจจุบัน ) ที่ของวัดร้างจึงว่างเป็นที่ดินรกร้างต่อไป ต่อมาในปีพุทธศักราช 2442 กระทรวงธรรมการประสงค์สร้างโรงเรียนประจำมณฑลขึ้น จึงใช้บริเวณที่วัดร้างแห่งนี้ เป็นที่ตั้งโรงเรียน ชื่อโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก



หลักฐานที่ระบุว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นสถานศึกษาในอดีต คือ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จมงกุฏเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารฯ ได้เสด็จมณฑลพิษณุโลก ทรงบันทึกว่า ออกจากวัดพระพุทธชินราช เดินไปวัดนางพญา ตามทางขรุขระเหมือนทางเกลี่ยอิฐหัก แลเห็นศาลา ( อาคารเรียน ) ของโรงเรียนประจำมณฑล อยู่ซ้ายมือของวัด จากที่ทรงบรรยายสภาพของโบราณสถานดังกล่าว และศึกษาจากอาคารเรียนของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเดิม ที่ระบุว่า เป็นโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก และภาพถ่ายอาคารเรียนหลังเก่าสุดของโรงเรียนจ่าการบุญ โดยการรับรองของอาจารย์ชลอ มากจุ้ย ซึ่งเป็นอาจารย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมว่าอาคารทั้งสองนั้นคือภาพอาคารเดียวกันแต่อยู่คนละสมัย
อาคารเรียนหลังแรกที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นอาคารเดียวกับโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก

กล่าวคือ ภายหลังจากกระทรวงธรรมการได้สร้างโรงเรียนขึ้น ณ บริเวณระหว่างวัดพระศรีรัตน
มหาธาตุและวัดนางพญาในเนื้อที่บนวัดราชคฤห์เก่า อาคารที่ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนคืออาคารหลังดังภาพถ่าย และอาคารชั่วคราวที่ใช้ศาลาของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุควบคู่ไปด้วยสถานที่คงจะคับแคบ ไม่เหมาะแก่การเป็นโรงเรียนประจำมณฑล เพราะบริเวณของวัดทั้งสองมีส่วนหนึ่งใช้เป็นที่รวมซุงที่ล่องมาจากภาคเหนือประกอบกับจำนวนนักเรียนมากขึ้น ต่อมาเมื่อกระทรวงธรรมการได้สร้างโรงเรียนประจำมณฑลขึ้น ฝั่งตรงข้ามบริเวณพระราชวังจันทน์เก่าจึงย้ายนักเรียนประจำมณฑลไป
เมื่ออาคารเรียนเดิมของโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลกว่างลง ทางราชการจึงใช้อาคารนั้นจัดตั้งโรงเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีและการฝีมือขึ้นแทนเรียกสั้นๆว่า ส.ม. ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ฝั่งขวาของลำน้ำน่าน ตอนใต้สะพานนเรศวรปัจจุบัน ( คือ โรงเรียนการช่างสตรี และปัจจุบันเปลี่ยนเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษา พิษณุโลก วิทยาเขต 3 )
อาคารเรียนโรงเรียน ส.ม. ว่างลง ทางการจึงย้ายโรงเรียนประชาบาลตำบลในเมือง ( โรงเรียนประชาบาลตำบลในเมืองนี้ เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาลวัดท่ามะปรางซึ่งได้รวมเอาโรงเรียนประชาบาลวัดสระแก้วฯ แล้วย้ายไปใช้อาคารเรียนของโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมพิษณุวิทยายน ข้างวัดสระแก้วปทุมทอง ที่เลิกล้มกิจการไปแล้ว ) ซึ่งอาคารเรียนถูกอัคคีภัยทั้งหมดทุกอาคาร มาเรียนที่ ส.ม.แทน ใน ประมาณปี พุทธศักราช 2485 เปิดเรียนชั้นประถมปีที่ 1 - 4
ต่อมาได้เปลี่ยนสังกัดจากประชาบาล ไปสังกัดกองการศึกษาเทศบาล เป็นโรงเรียนเทศบาล 2 บักหน้าอกเสื้อว่า ท. พ.ล . ๒ ในปีพุทธศักราช 2497 ได้เปลี่ยนสังกัดไปสังกัดกรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ ใช้อักษรปักที่หน้าอกเสื้อว่า ส.จ.บ. ( สามัญจ่าการบุญ ) และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเทศบาล 2 ตามที่ทางราชการมีนโยบายนำชื่อบุคคลสำคัญในอดีตมาตั้งเป็นชื่อถนนสายต่าง ๆ ในเมืองพิษณุโลก ถนนที่ตัดผ่าระหว่างวัดใหญ่ กับโรงเรียนได้นำชื่อของจ่าการบุญ หนึ่งในสองของผู้ชี้ทำเลและสร้างเมืองพิษณุโลกในอดีตมาตั้งเป็นชื่อถนน โรงเรียนจึงใช้ชื่อนั้นเป็นชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนถนนจ่าการบุญ ภายหลัง ได้ตัดคำว่า ถนน ออก เพราะถือว่าเป็นการตั้งชื่อ จ่าการบุญ เพื่อระลึกถึงจ่ากรบุญซึ่งเป็นสร้างเมืองฝั่งตะวันออก ( พระราชปรารภในพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ รัชกาลที่ 4 ) การปักหน้าอกเสื้อก็เปลี่ยนเป็น จ.บ. เช่นเดียวกับทุกวันนี้

ปี 2500 เข้าอยู่ในโครงการประชาบาลปรับปรุงส่วนภูมิภาค (ป.ส.ภ.)
ปี 2502 เข้าอยู่ในโครงการพัฒนาการศึกษา ( ค.พ.ศ.)
และเป็นโรงเรียนประชาสงเคราะห์
ปี 2514 เป็นโรงเรียนปรับปรุงทางวิชาการของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ปี 2515 ได้เปิดสอนถึงชั้นประถมปีที่ 7
ปี 2521 ทดลองเปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปี 2523 เปลี่ยนจากโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา เป็นสังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพิษณุโลก
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ปี 2546 เปลี่ยนจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
เป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ปัจจุบัน โรงเรียนจ่าการบุญ มีเนื้อที่ 9 ไร่ เป็นรูปเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านเหนือติดถนนจ่าการบุญ ซึ่งติดกับเขตวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ด้านตะวันออก ติดอาคารของเอกชนและตลาดเทศบาล 2 ด้านใต้ติดอาคารบ้านเรือนของเอกชนใกล้ถนนมิตรภาพ ( พิษณุโลก-วังทอง ) ด้านทิศตะวันตก ติดเขตวัดนางพญา ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ ๑๐๐ เมตร ใกล้สะพานนเรศวร ซึ่งเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำน่าน การคมนาคมสะดวกทุกทาง

ตราประทับใบสุทธิ นักเรียนโรงเรียนจ่าการบุญ ปีพุทธศักราช 2502

ครูฉลวย ภุมรินทร์ ครูใหญ่ระหว่างปีพุทธศักราช 2499 – 2509 และสภาพนักเรียนโรงเรียนจ่าการบุญ

http://jkb.webhop.net/~kanya/